แนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG เบื้องต้น

   รัฐบาลไทยเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (Bio-Circular-Green หรือ BCG) แห่งแรกของโลก และได้นําแนวทาง การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG บรรจุอยู่ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) อีกทั้งยังได้นําเสนอกรอบการพัฒนา เศรษฐกิจแบบ BCG ในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี พ.ศ. 2565 หรือ APEC (APEC Secretariat, 2021 และ 2022)

 

 

What is “BCG”

B-Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ

การพัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยากรที่มีอยู่แล้วอย่างคุ้มค่า มุ่งเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงลดก๊าซพิษและ ของเสีย

C-Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน

การพัฒนาระบบการผลิตที่สามารถนําสินค้าที่ผ่านการบริโภคแล้วกลับมาเข้ากระบวนการผลิตได้อีกครั้งหรือ
คืนสภาพเดิมให้แก่สินค้าและนํากลับมาใช้ใหม่

G-Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว

เป็นกรอบแนวคิดใหญ่ที่ผนวกรวมแนวคิดการพัฒนา
เศรษฐกิจชีวภาพและเศรษฐกิจหมุนเวียนไว้ด้วยกันโดย
มีเป้าหมายเพื่อให้การผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
และนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ทําให้เกิดปัญหา
และความเสี่ยง

กล่าวโดยสรุป แนวคิด BCG

เป็นแผนการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการภายในประเทศ ส่งเสริมแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการลดผลกระทบภายนอกที่เกิดขึ้นจากภาคการผลิต โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนําทรัพยากรชีวภาพ (Bio) มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า รักษาวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัดผ่านการนําผลผลิตกลับมาผลิตซํ้า (Circular) และ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green) เพื่อแก้ไขปัญหาโลกไม่สมดุลที่เกิดจากการผลิตแบบดั้งเดิม
และสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

แผนภูมิโครงสร้าง BCG Model

Back to top