เริ่มต้นอย่างไรเมื่ออยากส่งออกสินค้า ทำธุรกิจส่งออกต้องรู้ อะไรบ้าง?

แนวทางที่จะช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ที่มีความสนใจในการเริ่มต้นธุรกิจส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

พบกับเคล็ดลับและข้อมูลสำคัญที่คุณต้องรู้ เช่น วิธีการเตรียมสินค้า เอกสารที่จำเป็น การทำตลาดต่างประเทศ และการเลือกกลุ่มเป้าหมาย มาร่วมสร้างโอกาสใหม่ในตลาดโลก

เตรียมความพร้อม

การเริ่มต้นธุรกิจส่งออกจะต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา (ส่งออกในนามบุคคล) หรือ นิติบุคคล (ส่งออกในนามบริษัท) ผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล ก่อนเริ่มต้นธุรกิจส่งออก เนื่องจากการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในนามบริษัทจะได้รับความเชื่อถือจากคู่ค้าในต่างประเทศมากกว่า อีกทั้งยังสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากความ ตกลง FTA ต่างๆ รวมถึงการเสียภาษีรายได้ในอัตราที่ต่ำกว่าบุคคลธรรมดา

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียนเป็นนิติบุคคล ลงทะเบียนผู้เสียภาษี

รู้จุดแข็งและจุดขายของสินค้า/บริการส่งออกของท่าน

การสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วยการสร้างแบรนด์ พัฒนาดีไซน์ ขอรับตราสัญลักษณ์ นำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ ผู้ประกอยการสามารถขอรับคำปรึกษาจากสำนักสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาศักยภาพในฐานะผู้ส่งออกกับสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

การสร้างแบรนด์ การพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ

ค้นหาโอกาสส่งออก

1) ผู้ประกอบการศึกษาแนวโน้มความต้องการของสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพการแข่งขัน ได้จากรายงานแนวโน้มความต้องการตลาด/โอกาสทาง การค้า โดยสามารถดูข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 58 แห่งทั่วโลก

2) ผู้ประกอบการต้องศึกษาวิเคราะห์มูลค่าการส่งออกสินค้าและตลาดส่งออกสำคัญ สามารถดูข้อมูลได้จากฐานข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลทางการตลาด สถิติทางการค้า

หาผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า ในตลาดเป้าหมาย

การหาผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจโครงสร้างและช่องทางการกระจายสินค้าในตลาด เป้าหมาย ซึ่งอาจมีความแตกต่างจากตลาดในประเทศไทย สามารถศึกษาจากรายงานตลาดเชิงลึกของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 58 แห่งทั่วโลก นอกจากนี้แนะนำให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมขยายตลาดต่างประเทศ อาทิ งานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ คณะผู้แทนการค้า กิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) หรือเดินทางไปสำรวจตลาดด้วยตนเอง

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลทางการตลาดต่างประเทศ งานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ

ศึกษากฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศ

ก่อนดำเนินการส่งออก ผู้ประกอบการควรศึกษาขั้นตอนการขอใบอนุญาต/การขึ้นทะเบียน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าที่มีมาตรการ การส่งออก (กรมการค้าต่างประเทศ) หรือมีมาตรฐานการส่งออก อาทิ สินค้าเกษตร ประมง และปศุสัตว์

ผู้ประกอบการสามารถศึกษาขั้นตอนการส่งออกรายสินค้า ได้ที่ ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ (OSEC) หรือ สำหรับประเทศที่ไทยมีความตกลง FTA  อัตราภาษี และสิทธิประโยชน์ ได้จากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือ เว็บไซต์ของหน่วยงานศุลกากรของประเทศปลายทาง เช่น สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานการส่งออกของกรมการค้าต่างประเทศ ศูนย์การส่งออกต่างประเทศ ระบบค้นหาสิทธิประโยชน์ทางภาษี FTA

รู้จักเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า และวิธีชำระเงิน

การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการควรตกลงกับคู่ค้าให้ชัดเจน ในเรื่องการทำสัญญา เงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
(1) เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า (Incoterms) อาทิ FOB CIF C&F
(2) เงื่อนไขในการชำระเงิน ซึ่งกรมแนะนำให้ดำเนินการเปิด L/C กรณีทำการค้ากับคู่ค้ารายใหม่ หากกำหนดเงื่อนไขเป็นการโอนเงิน (T/T) จะต้องมั่นใจว่าได้รับ ชำระค่าสินค้าตามเงื่อนไขก่อนส่งมอบสินค้า

ข้อแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันข้อพิพาททางการค้า ดังนี้
(1) ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า ได้ที่ ระบบบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ (DITP CARE)
(2) ควรจัดทำเอกสาร/สัญญาซื้อขายที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือขอให้ผู้นำเข้าจัดทำใบสั่งซื้อ (Purchasing Order) ที่มีการลงนามและตราประทับของบริษัท โดยระบุรายละเอียดสินค้า ราคา ปริมาณ ค่าใช้จ่ายการขนส่งตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงิน ฯลฯ
สนใจเข้ารับการฝึกอบรม ติดต่อ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ระบบบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ (DITP CARE) สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่

หาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และดำเนินพิธีการศุลกากร

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ต้องการส่งออก หรือผู้ส่งออกรายย่อยที่ต้องการบริการ และการอำนวยความสะดวกจากผู้ให้บริการมืออาชีพ ในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมถึงการจัดเตรียมเอกสารส่งออกและการดำเนินพิธีการศุลกากร สามารถค้นหารายชื่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ที่เป็นสมาชิกกรมได้จาก ศูนย์ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อการค้าระหว่างประเทศ สำหรับบัตรประจำตัวผู้ส่งออก สามารถติดต่อขอรับได้จากกรมการค้าต่างประเทศ และ กรมศุลกากร

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อการค้าระหว่างประเทศ  กรมการค้าต่างประเทศ กรมศุลกากร

แหล่งที่มา

เริ่มต้นธุรกิจส่งออก. สืบค้น. วันที่ 14 ตุลาคม 2567, จาก https://www.ditp.go.th/exporting-business

Back to top